ชื่อ | วัดพระแก้ว |
---|---|
ที่อยู่ | ๑ หมู่ ๑๔ |
โทรศัพท์ | ๐ ๕๓๗๑ ๘๕๕๕ |
โทรสาร | |
จังหวัด | เชียงราย |
อำเภอ | เมืองเชียงราย |
ตำบล | เวียง |
วัดพระแก้วเป็นวัดที่เก่าแก่ และมีความสำคัญวัดหนึ่ง สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมมีชื่อว่า ญรุกขวนาราม ซึ่งแปลว่า วัดป่าญะ หรือ วัดป่าเยี๊ยะ สร้างมาก่อนพุทธศักราช ๑๙๗๗ ขึ้นไป บริเวณวัดนี้จะมีไม่ไผ่ชนิดหนึ่งชื่อไม้ญะ คล้ายไม้ไผ่สีสุก แต่ไม่มีหนาม คงจะมีมากในบริเวณนี้ ชาวบ้านสมัยก่อนนิยมนำไปใช้เป็นไม้คันธนูและหน้าไม้ จึงได้ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศว่า วัดป่าญะ หรือ วัดญาเยี๊ยะ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />
ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๑๙๗๗ พระเจดีย์วัดป่ายะถูกอสนีบาต (ฟ้าผ่า) พังทลายลงพบพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ครั้งแรกเข้าใจว่า เป็นพระพุทธรูปธรรมดาจึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานในพระวิหาร ต่อมาปูนที่พอกองค์พระไว้กะเทาะออก ทำให้เห็นแก้วสีเขียวงดงามยิ่ง จึงได้กะเทาะหมดทั้งองค์ ปรากฏเป็นพระพุทธรูปแก้วเขียวเป็นแท่งทึบต่อมาได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้จังหวัดลำปาง เชียงใหม่ กรุงศรีสัตตนาคนหุต (เวียงจันทร์) จนกระทั่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑) ได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่กรุงธนบุรีและกรุงเทพมหานครตามลำดับ
สำหรับวัดป่าญะ หลังจากได้พบพระแก้วมรกต เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๒๐ แล้วนั้น ประชาชนทั่วไปได้ขนานนามว่า วัดพระแก้ว มาจนถึงปัจจุบัน
การปฎิสังขรณ์วัดพระแก้ว นับตั่งแต่ พุทธศักราช ๒๔๒๐ มีครูสมณะโสภณะ เป็นเจ้าอาวาสได้ทำการบูรการปฎิสังขรณ์วัดมาให้เจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ จนได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาจาก กรมการศาสนา เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๙ และต่อมาได้รับพระราชทานโปรดให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑
สถานะและที่ตั้งวัด
วัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑๙ ถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ที่ดินตั้งวัด มีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๒ งาน ๖๐ ตารางวา
สิ่งสำคัญในพระอาราม
พระประธาน ที่ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระแก้วเป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูงจากเกตุถึงยอดพระรัศมี ๒.๘๐ เมตร รอบพระเศียร ๑.๖๐ เมตร นั่งขัดสมาธิราบ พระรัศมีเป็นลักษณะมีดอกบัวตูมอยู่ในเปลวเพลิง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือรายพระถัน เม็ดพระศกใหญ่พระหนุเป็นปมใหญ่และชัดมาก พระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมเป็นของวัดล้านทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย ต่อมามีสภาพเป็นวัดร้างจึงถูกรื้อไป ต่อมาได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดดอยงำเมือง หรือดอยงามเมือง ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดพระแก้ว เมื่อวัดพฤหัสบดี ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ ซึ่งคนเชียงรายนิยมเรียกกันว่า พระเจ้าล้านทอง พระอุโบสถสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช๒๔๓๓ มีขนาดกว้าง ๙.๕๐ เมตร ยาว ๒๑.๘๕ เมตร เดิมเป็นพระวิหาร ต่อมาได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๙๕
ต่อมาได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ โดยครั้งที่ ๑ พุทธศักราช ๒๕๐๓ ๒๕๐๕ ในสมัยพระพุทธวงศ์วิวัฒน์(วงศ์ ทานวโส) เป็นเจ้าอาวาส นาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:smarttags" />หมัด ไชยา เป็นช่างผู้ควบคุมการก่อสร้าง ประกอบพิธีปอยหลวงสมโภชเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๐๕ และครั้งที่ ๒ พุทธศักราช๒๕๔๓-๒๕๔๕ โดยเปลี่ยนกระเบื้อง กะเทาะปูนเก่าออกฉาบปูนใหม่ลงรัก ปิดทอง เปลี่ยนช่อฟ้าใบระกา บานประตู หน้าต่างลวดลายภายในเป็นไม่สักทั้งหมด โดยควบคุมการก่อสร้างของพระเทพรัตนมุนี เจ้าอาวาส และนายนภดล อิงควนิช
พระเจดีย์ เป็นสถานที่ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เมื่อปีพุทธศักราช๑๙๗๗ เป็นพระเจดีย์ฐานรูปแปดเหลี่ยมแต่ละเหลี่ยมกว้าง ๕.๒๐ เมตร วัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ ๙.๕๐ เมตร เมื่อครั้งท่านเจ้าคุณพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์เป็นเจ้าอาวาสได้มีการขออนุญาตกรมศิลปากรบูรณะและห่อหุ้มทองแผ่นทองแดง ลงรักปิดทองทั้งองค์ สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จมาเป็นประธานพิธียกฉัตรพระเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ อาคารสมเด็พระพุทธชินวงศ์เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์งานสมโภชน์สมณศักดิ์เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวัณณโชตมหาเถร) ปฐมสมเด็จของล้านนาเป็นอาคารค.ส.ล. ๔ ชั้น ขนาดกว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๔๐ เมตร วางศิลาโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๓ เวลา ๐๗.๐๙ น. เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๓๓ เสร็จเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๘
หอพิพิธภัณฑ์ อาคารแสงแก้ว เป็นอาคาร ค.ส.ล. ประกบด้วยไม้ทั้งภายในภายนอก สูง ๒ ชั้น ทรงล้านนา ขาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๓.๒๕ เมตร สำหรับเป็นหอพิพิธภัณฑ์ประจำวัดพระแก้ว เริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ วางศิลาฤกษ์ โดยคุณแม่อมรา(แสงแก้ว)มุนิกานนท์ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๑ และบำเพ็ญกุศลถวายทานเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓ อันเป็นโอกาสมงคลอายุครบ ๗ รอบ ของคุณแม่อมา ซึ่งคุณแม่อมรา มุนิกานนท์ ได้บริจาคสร้างถวายทั้งหมด
พระพุทธรตนากรนวุติวัสสานุสรณ์มงคล เป็นพระพุทธรูปหยกหน้าตักกว้าง ๔๗.๙ ซม. สูง ๖๕.๙ ซม. สร้างด้วยหยกจากประเทศแคนนาดา(มร.ฮูเวิร์ด โล ผู้บริจาค) แกะสลักโดยโรงงานหยกวาลินนาน มหานครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเป็นองค์แทนพระแก้วมรกต เพราะพระแก้วมรกตได้ถูกค้นพบ ณ พระเจดีย์วัดพระแก้วเป็นแห่งแรก(พุทธศักราช๑๙๗๗) และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งพระองค์ท่านได้พระราชทานนามถวายว่า พระพุทธรตนากรนวุติวัสสานุสรณ์มงคล แปลว่าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นอากรแห่งรัตน เป็นมงคลอนุสรณ์ ๙๐ พรรษาและโปรดเกล้าให้เรียกนามสามัญว่า พระหยกเชียงราย
หอพระหยกเชียงราย วัดในภาคเหนือสมัยโบราณ นอกจากจะมีอุโบสถ วิหาร ศาลา กุฏิ หอพระธรรม ฯลฯ แล้วยังมี หอพระสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป วัดพระแก้วจึงจัดสร้าง หอพระหยกเชียงราย เป็นอาคารทรงแบบล้านนาโบราณเป็นอาคารค.ส.ล. ประกบด้วยไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร วางศิลาฤกษ์ โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุธชินวงศ์ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๔ เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จมาเป็นประธานเปิดหอพระหยกเชียงรายเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑