ชื่อ | วัดเจ็ดยอด |
---|---|
ที่อยู่ | ๑๘ |
โทรศัพท์ | ๐ ๕๓๗๑ ๖๙๓๓ |
โทรสาร | |
จังหวัด | เชียงราย |
อำเภอ | เมืองเชียงราย |
ตำบล | เวียง |
วัดเจ็ดยอด เป็นวัดที่ได้รับการบูรณปฏิสังข์จากซากวัดโบราณ ซึ่งเชื่อว่าสร้างสมัยอาณาจักรล้านนา ในรัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์มังราย พุทธศักราช ๒๓๘๖ ราษฎรชาวเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ได้เดินทางไปแผ้วถางป่า เพื่อบุกเบิกหาที่ทำกินใหม่ ได้พบซากวัดเก่าแนวกำแพง ฐานพระวิหาร ฐานเจดีย์ ซึ่งมีฐาน (เล็บธรณี) ปรากฏเป็นพระธาตุ ๗ องค์ ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก พระครูธานคันธะ คนฺธวํโส พระภิกษุที่ร่วมเดินทางมาพร้อมกันราษฎร จึงชักชวนให้ร่วมกันบูรณะวัดโบราณแห่งนี้ให้เป็นวัดประจำหมู่บ้านและใช้ชื่อว่า วัดเจ็ดยอด ตามหลักซากพระธาตุองค์เดิม ๗ องค์ เหตุผลการสร้างองค์พระธาตุมากกว่า ๑ องค์ สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากค่านิยม ของพุทธศาสนิกชนชาวล้านนาการสร้างเจดีย์เพื่อเป็นเครื่องหมายหลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่หมายถึง อริยทรัพย์ ๗ และโพชฌงค์ ๗<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />
การสร้างวัดและพระเจดีย์ได้เลียนแบบวัดเจ็ดยอดที่เชียงใหม่ แต่มีขนาดเล็กกว่า และไม่มีพระบรมธาตุ หรืออุเทสิกะอื่นใดบรรจุอยู่
วัดเจ็ดยอดได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๑ ทำพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๘๗ เป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑
สถานะและที่ตั้งวัด
วัดเจ็ดยอด เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘ ตำบลเวียง อำเภอเชียงราย จังหวัดเชียงราย ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๙๔ ตารางวา
สิ่งสำคัญในพระอาราม
พระธาตุเจ็ดยอด เป็นถาวรวัตถุโบราณมาแต่ดั้งเดิม ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อ เดือน ปี ใด ได้ชำรุดทรุดโทรมมามาก และปี ๒๔๖๐ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ตามรูปแบบเดิม สูงตั้งแต่ธรณีถึงยอดฉัตร ๕๓ ศอก วัดรอบด้านใต้ ด้านเหนือ ๑๑ วา ๒ ศอก ด้านทิศตะวันตก ตะวันออก ๗ วา ๓ ศอก ปีพุทธศักราช ๒๓๖๘ เดือน ๗ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันอาทิตย์ ได้ทำบุญฉลอง
พระประธานในพระอุโบสถ ขนาดหน้าตักกว้าง ๘ X ๑๖ นิ้ว สร้างด้วยอิฐถือปูน ลงรักปิดทองใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ ได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ พร้อมกับการก่อสร้างพระอุโบสถ เสร็จเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ สูง ๒๐ ศอก (๑๐ เมตร)
พระพุทธรูปทองเหลือง มีอยู่ประจำที่วัดตั้งแต่สมัยใด พุทธศักราช ใดไม่มีใครทราบ คงจะมีอยู่ที่วัดนี้มาก่อนที่ท่านครูบาคันธะ ซึ่งเป็นองค์แรกที่ได้มาริเริ่มทำการบูรณะก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดเจ็ดยอดนี้ก็เป็นได้ มีหน้าตักกว้าง ๔๙ นิ้ว สูง ๖๘ นิ้ว ฐานเขียง ปางสดุ้งมารเมาลีเปลวเพลิงฐานเขียงสูง