ชื่อ | วัดพระบรมธาตุไชยา |
---|---|
ที่อยู่ | |
โทรศัพท์ | ๐ ๗๗๔๓ ๑๕๒๗ |
โทรสาร | |
จังหวัด | สุราษฎร์ธานี |
อำเภอ | ไชยา |
ตำบล | เวียง |
วัดพระบรมธาตุไชยา เดิมเป็นวัดร้างต่อมาเมื่อมีราษฎรมาจับจองบูรณะขึ้นใหม่เป็นวัดราษฎร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานขึ้นเป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๑ มีนามว่า วัดพระธาตุไชยา แล้วต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เลื่อนฐานะวัดพระธาตุไชยาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระบรมธาตุไชยา เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๐<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />
วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นวัดที่สร้างมาเก่าแก่ โบราณกาลสมัยที่พระเจ้าแผ่นดินที่ปกครองอยู่ในสุวรรณภูมิ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเมื่อพระโสณะ กับพระอุตตระเถระ ได้มาเผยแพร่พุทธศาสนา
สังเกตได้จากโบราณวัตถุที่ปรากฏอยู่หลายสมัย แสดงถึงความเจริญและความเสื่อม บางครั้งทิ้งร้างไปแล้วฟื้นฟูขึ้นใหม่ในพื้นที่เดียวกัน ดังหลักฐานที่เหลืออยู่ ดังนี้
๑. สมัยทวารวดี พบพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่เท่าคนและย่อมกว่าเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๗๔ ซม. สูง ๑๐๔ ซม. ลักษณะประทับบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกัน พระเกศาขมวดเป็นต่อมโต อุษณีย์ปรากฏไม่ชัด จีวรห่มบางแนบพระองค์ คลุมอังสะชัยไม่มีพระอุระมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒
อีกองค์เป็นพระพุทธรูปยืน ประทับบนฐานบัว จีวรห่มคลุม ปลายจีวรตัดตรง รัดประคตมีลวดลาย ไม่มีพระรัศมีเม็ดพระศกกลมใหญ่ ทำด้วยศิลาสูง ๑๔๒ ซม. ปัจจุบันทั้งสององค์ประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา จากหลักฐานนี้เชื่อว่าวัดนี้หรือสถานที่แห่งนี้มีมาตั้งแต่สมัยทราวดี ระหว่าง พุทธศักราช ๑๐๐๐- ๑๒๐๐
๒. สมัยศรีวิชัย ในสมัยนี้ศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมาก สังเกตได้จากองค์เจดีย์พระมหาธาตุแบบศรีวิชัย ด้วยเป็นสถานที่เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ จึงยังคงรูปแบบของศิลปศรีวิชัยไว้ได้ โดยไม่ได้รับการดัดแปลง เว้นแต่ตอนส่วนยอดที่หักพังลงมา และหายสาบสูญไป จึงได้ซ่อมแซมส่วนยอดมาเป็นแบบศิลปะไทยโบราณวัตถุที่พบเป็นหลักฐานที่ถือเป็นประติมากรรมที่งดงามที่สุดของไทยในสมัยศรีวิชัย คือ พระพุทธ รูปสัมฤทธิ์พระโพธิสัตว์โลกิเตศวรขนาดใหญ่ พบที่ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพระพุทธรูปศิลาจำนวนมากกว่าที่พบในที่ใดในประเทศไทย ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพสมัยศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองระหว่าง พุทธศักราช ๑๒๐๐- ๑๕๐๐
๓. สมัยสุโขทัย พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง พ่อขุนรามคำแหงได้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ จดคาบสมุทรมาลายูมีการส่งทูตไปลังกาทวีป นำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงค์มาที่นครศรีธรรมราช และสุโขทัย พุทธศิลป์สมัยนี้เป็นแบบสกุลช่างนครศรีธรรมราชหลักฐานทีปรากฏอยู่มีใบเสมาคู่แฝดปรากฏอยู่รอบ ๆ เขตพระอุโบสถเดิมของวัด
๔. สมัยอยุธยา หลักฐานที่ปรากฏมากมาย เพราะมีการบำรุงรักษาและสร้างขึ้นใหม่ มีการสร้างพระพุทธรูปมากมายกว่าสมัยใด มีการสร้างพระพุทธรูปศิลาทรายแดงขนาดโตกว่าคน ลงมีถึงขนาดเท่าคนและย่อมกว่าคน ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองสูงสุดสมัยนั้นในไชยา
๕. สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ โบราณวัตถุในสมัยกรุงธนบุรีมรน้อยมาก แต่วัดยังเจริญรุ่งเรืองมีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอยู่ทั่ว ๆ ไป พระบรมธาตุไชยาได้ถูกทำลายร้างโดยพม่าในสงครามระหว่างไทยกับพม่า หลังจากกรุงศรีอยุธยา แตกลง มาจนถึงพระเจ้าตากสินมหาราชมาตีเมืองนครศรีธรรมราช ตอนรวมประเทศใหม่ ๆ จนถึงศึกเก้าทัพในรัชกาลที่ ๑ ประชาชนต่างหนีภัยสงคราม พระบรมธาตุคงถูกทำลายและทิ้งร้างไปในที่สุด
ต่อมาได้มีผู้ค้นพบและบูรณะขึ้นมาใหม่ในรัชกาลที่ ๕ โดยพระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูรัตนมุนีศรีสังฆราชาลังกาแก้วเจ้าคณะเมืองไชยา ระหว่าง พุทธศักราช ๒๔๓๙-๒๔๕๓ ให้วัดคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่ง มีการบูรณะตกแต่งองค์พระบรมธาตุเจดีย์ฉาบปูนผิวบาง ๆ ทั่วทั้งองค์พระบรมธาตุ พร้อมทั้งเสริมยอดที่หักหล่นหายไป มีการสร้างพระวิหารหลวงใหม่ในฐานเดิม รวบรวมพระพุทธรูปที่เกลื่อนกลาดเข้าประดิษฐานในพระวิหารคด จนเรียบร้อย