ชื่อ | วัดมัชฌิมาวาส (ธ) |
---|---|
ที่อยู่ | |
โทรศัพท์ | ๐ ๗๔๓๒ ๒๗๔๕ |
โทรสาร | |
จังหวัด | สงขลา |
อำเภอ | เมืองสงขลา |
ตำบล | บ่อยาง |
วัดมัชฌิมาวาส เดิมมีชื่อว่า วัดยายศรีจันทร์ ตามชื่อของผู้สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย (แหลมทราย) แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดกลาง ตั้งเมื่อปีพุทธศักราช เท่าใดไม่ปรากฏ ตั้งอยู่บนที่ราบใจกลางเมืองสงขลาด้านทิศตะวันตกห่างจากทะเลสาบสงขลา ประมาณ ๑ กิโลเมตร ทางด้านทิศตะวันออกห่างจากถนนใหญ่ ประมาณ ๑๐๐ เมตร และห่างจากทะเลฝั่งอ่าวไทย ประมาณ ๒ กิโลเมตร มีเส้นทางคมนาคมไปมาสะดวเก สมเด็จกรมพระยานริสภานุวัตวงศ์ เคยเสด็จมายังวัดนี้ และได้ทรงบันทึกไว้ว่า วันที่ ๑๑ พฤษภาคม (๒๔๗๖) เวลาเย็นไปไหว้พระและชมวัดมัชฌิมาวาส เป็นวัดที่ตั้งใจทำเป็นอย่างดี มีรูปเขียนในอุโบสถ ฝีมือช่างรัชกาลที่ ๓ ไม่ล้ำเลิศอะไร แต่ทำแปลกสะดุดใจที่กระเบื้องบน เขียนทั้งปฐมสมโพธิ์และเทพชุมชนประสานกัน แบ่งด้วยสินเทา อันยิ่งไม่เคยเห็นเขียนทำนองนี้ ห้องข้างล่างเขียนเป็นสิบชาติ พระประธานเป็นศิลาขาวฝีมือไทยฉลัก<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />
ในรัชกาลที่ ๑ ระหว่าง ปีพุทธศักราช ๒๓๓๔ ๒๓๔๒ ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา (พระยาอินทคีรี - บุญหุ้ย) ได้บูรปฏิสังขรณ์วัดยายศรีจันทร์ครั้งใหญ่ พร้อมกับสร้างอุโบสถและศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังได้พบหลักฐานการจารึกเป็นภาษาจีนที่ระฆังเหล็ก ฐานเสาหิน และจารึกภาษาไทยและจีนบนเจดีย์ (ถะ) กล่าวว่าสร้างในปีพุทธศักราช ๒๕๔๒
ในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๓๖๐ ๒๓๗๕ ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา (พระยาวิเชียรคีรี - เกี๊ยนเส้ง) ได้บูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย และเมื่อเมืองสงขลาย้ายมาฝั่งตะวันออกของทะเลสาบแล้ว ผู้สำเร็จราชการจึงได้ใช้อุโบสถวัดย้ายศรีจันทร์เป็นที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
ในรัชกาลที่ ๔ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๓๙๔ ๒๔๐๘ ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา (เจ้าพระยาวิเชียรคีรี - บุญสังข์) ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดย้ายศรีจันทร์ครั้งใหญ่ พร้อมกับสร้างศาสนสถานขึ้นใหม่หลายหลัง แล้วก่อกำแพงวัดด้วยหิน ซุ้มประตูวัดทั้ง ๔ ทำเป็นรูปมหามงกุฎ อันเป็นสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ ๔ ในขณะที่กำลังก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเมืองสงขลา (พุทธศักราช ๒๔๐๒ - ๒๔๐๖) และเสด็จเยี่ยมวัดยายศรีจันทร์นี้ด้วย
ในรัชกาลที่ ๕ ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา (เจ้าพระยาวิเชียร - ชม) ได้บูรณะอุโบสถเดิม ซึ่งสร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๑ (พุทธศักราช ๒๓๓๘) เนื่องจากอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมากแล้วจึงปรับปรุงเป็นวิหารใน พุทธศักราช ๒๔๒๘ ซึ่งในระยะนี้วัดยายศรีจันทร์มีชื่อเรียกว่า วัดกลาง แล้ว
ในปีพุทธศักราช พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมายังวัดกลางและประทับ ณ ตึกเก๋งจีน (เรียกกันว่าตึกคุณละม้าย) ทรงเปลี่ยนชื่อวัดกลางมาเป็น วัดมัชฌิมาวาส และให้ถอนพัทธสีมาจากอุโสถเก่า ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ (พุทธศักราช ๒๓๓๘ - ๒๓๔๑) มาผูกพัทธสีมา ณ อุโบสถใหม่
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ยกวัดมัชฌิมาวาสขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๐ ต่อมาใน พุทธศักราช ๒๔๘๒ พระเทพวิสุทธิคุ (เลี่ยม อลีโน) เจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาสได้จัดตั้งห้องสมุดและภัทรศีพิพิธภัณฑ์สถาน วัดมัชฌิมาวาสขึ้นที่ด้านทิศเหนือของพระอุโบสถในปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งนี้ใช้สำหรับเก็บรักษาและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ ส่วนใหญ่เป็นของที่พบในจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง
สถานะและที่ตั้งวัด
วัดมัชฌิมาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๒ หมู่ที่ ๑๑ ถนนไทรบุรี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๘ งาน ๗๕ ตารางวา
สิ่งสำคัญในพระอาราม
พระอุโบสถ หลังปัจจุบันเป็นหลังที่สร้างขึ้นใหม่ระหว่าง พุทธศักราช ๒๓๙๔-๒๔๐๘ เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนฐานสูงมีกำแพงแก้วและรั้วเหล็กล้อมรอบเสมารอบพระอุโบสถเป็นเสมาคู่ ทั้ง ๘ หลักทำด้วยศิลาคงจะเป็นของเดิมที่ย้ายจากพระอุโบสถหลังเก่าที่สร้างในรัชกาลที่ ๑ ระหว่าง พุทธศักราช ๒๓๓๘-๒๓๔๑ ตัวพระอุโบสถและพระประธานหันไปทางทิศตะวันตก คงเป็นคติที่ต้องการให้หันไปสู่ทะเลสาบสงขลา อันถือเป็นเส้นทางสัญจรนั่นเอง
ผนังพระอุโบสถด้านทิศตะวันออกและตะวันตก มีประตูด้านละ ๒ บาน สลักเป็นภาพรูปลิงแบกเทพ ส่วนผนังด้านทิศเหนือและใต้มีหน้าต่างด้านละ ๗ บาน สลักเป็นรูปเทวดาถือดาบประทับยืนบนแท่น เหมือนกรอบประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มปูนปั้นรูปมหามงกุฎ คงจะเป็นเครื่องหมายรัชการที่ ๔ นั้นเอง หลังคาทรงไทยลด ๒ ชั้น ๓ ตับ ตับล่างเป็นปีกนกโดยรอบ มีเสาพาไลสี่เหลี่ยมประดับบนหัวเสาและคันทรวยรองรับชายคาปีกนกหน้าบันประกอบด้วยช่อฟ้าในระกาหางหงส์ และนาคลำยอง (ไม่มีนาคสะดุ้ง) ลวดลายประดับหน้าบันทั้ง ๒ ด้าน เป็นปูนปั้นนูนสูงประดับกระจกสี ด้านทิศตะวันออกเป็นรูปพระพรหมทรงหงส์ห้อมล้อมด้วยเหล่าเทวดาและกนกเปลว ส่วนทิศตะวันตกเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณห้อมล้อมด้วยเทพและกนกเปลวด้วยเช่นกัน ภายในอุโบสถไม่มีเพดาน บริเวณหน้าบันด้านในทั้งสองด้านเป็นภาพรูปบั้นราหูอมจันทร์
พระประธาน ภายในอุโบสถ เป็นประประติมากรรมหินอ่อน (Alabaster) ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางสมาธิ ตามหลักฐานกล่าว เป็นพระพุทธรูปที่ปั้นโดยช่างไทย แล้วส่งไปแกะสลักยังประเทศจีน หน้าตักกว้าง ๕๕ เซนติเมตร ประดิษฐานในบุษบก
<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><?xml:namespace prefix = w ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:word" /> ภาพสลักศิลานูนสูง พนักพาไลระหว่างช่องเสารอบพระอุโบสถเป็นประติมากรรมนูนสูง แบบศิลปะจีน สลักเป็นภาพเรื่องราวทั้ง ๒ ด้าน เข้าใจว่าเป็นเรื่อง สามก๊ก ทวารบาล ด้านนอกของบานประตูทิศตะวันออกและตะวันตกประดับทวารบาลเป็นประติมากรรมลอยตัวศิลาแบบจีน (ตุ๊กตาจีน) อยู่ทั้งด้านซ้าย-ขวา ของบานประตูทุกบานรวมทั้งสิ้นแปดตัว คือด้านทิศตะวันออก เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา มือจะถืออาวุธดังนี้ คือ ตัวที่ ๑ และตัวที่ ๒ ถืออาวุธด้ามยาม (ปลายหัก) ตัวที่ ๓ ถือถะ (เจดีย์) ตัวที่ ๒ ถือพิณ ตัวที่ ๓ ถือร่มใหญ่ และตัวที่ ๔ ถืองู ประติมากรรมทั้งแปดนี้อาจจะหมายถึงเทพเจ้าที่สำคัญประจำทิศของจีน (โลกบาล) รวมกับเทพเจ้าในลัทธิเต๋า ในราชวงศ์ถังและซุ่ง พระอุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณะเสริมโครงสร้าง คสล. โดยกรมศิลปากรเมื่อประมาณ ปี พุทธศักราช ๒๕๑๒-๒๕๑๓